Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player


การกำหนดคุณสมบัติตารางและเซลล์ตาราง

         เมื่อมีการแทรกตารางเข้ามาใช้งานแล้ว ต้องมีการปรับแต่งคุณสมบัติของตารางและคุณสมบัติของเซลล์ตารางให้ได้ตามความต้องการกับงานที่จะนำมาแสดงผล โดยทำการเลือกในส่วนของตารางหรือเลือกเซลล์ตามหัวข้อที่เรียนรู้ผ่านมา ซึ่งคุณสมบัติจะเป็นดังนี้

        การปรับแต่งคุณสมบัติของตาราง
        1. Table เป็นช่องใส่ชื่อให้กับตาราง
        2. Rows / Column เป็นช่องที่ใส่จำนวนแถวและคอลัมน์ ซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนเป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนของแถวและคอลัมน์ได้
        3. W เป็นช่องใส่ค่าความกว้างของตาราง โดยจะมีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)และ(pixels)
        4. Cellpad เป็นการกำหนดระยะห่างระหว่างเซลล์กับข้อความภายในเซลล์
            CellSpace เป็นการกำหนดระยะห่างระหว่างเซลล์ต่อเซลล์ในตาราง
        5. Align เป็นการจัดตำแหน่งให้กับตาราง
                     - Default เป็นการจัดค่าตำแหน่งเริ่มต้นให้กับตารางคือ ชิดด้านซ้าย
                     - Left จัดตำแหน่งตารางชิดด้านซ้าย
                     - Center จัดตำแหน่งตารางอยู่กึ่งกลาง
                     - Right จัดตำแหน่งตารางชิดด้านขวา
        6. Class เป็นการเลือกรูปแบบของตารางด้วย CSS ที่มีการกำหนดไว้
        7. เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการปรับความกว้าง / ความสูง
                     - Clear Column Widths เป็นการปรับยกเลิกค่าความกว้างของตารางและค่าความกว้างของทุกคอลัมน์ คือจะทำให้ทุกคอลัมน์มีควาามกว้างพอดีกับเนื้อหา
                     - Clear Row Height เป็นการปรับยกเลิกค่าความสูงของตารางและค่าความสูงของทุกแถว คือจะทำให้ทุกแถวมีควาามสูงพอดีกับเนื้อหา
                     - Convert Table Widths to Pixels เป็นการปรับหน่วยความกว้างเป็นพิกเซล
                     - Convert Table Widths to Percent เป็นการปรับหน่วยความกว้างเป็นเปอร์เซ็นต์
        8. Border เป็นช่องที่กำหนดความหนาของเส้นขอบตาราง มีหน่วยเป็นพิกเซล ถ้ามีการกำหนดเป็น 0 จะไม่แสดงเส้นขอบตอนแสดงผล
       นอกจากการปรับแต่งค่าที่ Property Inspector แล้วสามารถเข้าใช้งานการปรับแต่งค่าต่างๆ ของตารางได้ที่โดยการเลิกคำสั่งที่เมนู Modify >> Table หรือการคลิกเมาส์ขวาในตารางที่ต้องการปรับแต่งค่าเลือก Table >>แล้วเลือกคำสั่งย่อยที่ต้องการ จะมีลักษณะดังนี้
 

    1. การเลือกตาราง
    2. การรวมและการแบ่งเซลล์ 
    3. การแทรกถวและคอลัมน์
    4. การลบแถวและคอลัมน์
    5. การขยายและลดขนาดเซลล์
    6. การปรับความสูงและความกว้างรวมถึงเรื่องการเปลี่ยนหน่วยที่ใช้งาน

         การปรับแต่งคุณสมบัติของเซลล์
         1. แสดงส่วนที่กำลังทำการเลือกใช้งาน
         2. การจัดตำแหน่งของวัตถุหรือข้อความ
             Horz เป็นการจัดตำแหน่งของวัตถุหรือข้อความในแนวนอน
                      - Default จัดให้อยู่ชิดซ้ายของเซลล์เป็นค่าเริ่มต้น
                      - Left จัดให้อยู่ชิดซ้ายของเซลล์เหมือนค่า Default
                      - Center จัดให้อยู่กึ่งกลางของเซลล์
                      - Right จัดให้อยู่ชิดขวาของเซลล์
             Vert เป็นการจัดตำแหน่งของวัตถุหรือข้อความในแนวตั้ง
                      - Default จัดแบบปกติโดยจะจัดอยู่กึ่งกลาง
                      - Top จัดให้อยู่ด้านบนสุด
                      - Middle จัดเรียงอยู่กึ่งกลางของเซลล์
                      - Bottom  จัดเรียงอยู่ด้านล่างสุด
                      - Baseline จัดตำแหน่งให้แนวเส้นฐานของวัตถุหรือข้อความบรรทัดแรกของทุกเซลล์ในแถวอยู่ตรงกัน
         3. ปรับข้อความไม่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่
         4. เครื่องมือรวมเซลล์
         5. เครื่องมือแยกเซลล์
         6. ช่องใส่ความกว้างของเซลล์(W) และความสูงของเซลล์(H)
         7. เลือกเพื่อจัดเป็นเซลล์หัวเรื่อง
         8. Bg เป็นส่วนที่ใส่สีพื้นให้กับเซลล์ที่เลือก

        *** เซลล์ในแถวเดียวกันจะต้องมีความสูงเท่ากันและเซลล์ในคอลัมน์เดียวกันจะมีความกว้างเท่ากัน เพราะฉนั้นถ้ามีการปรับเซลล์ใดๆ จะมีผลกับเซลล์อื่นในแถวหรือคอลัมน์เดียวกัน
        *** ในเซลล์ที่กำหนดจะมีขนาดเล็กกว่าข้อมูลที่อยู่ในเซลล์ไม่ได้