Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player


   
การแทรกไฟล์ Flash และ Shockwave

         ในการแทรกไฟล์ flash และ shockwave จะมีลักษณะคล้ายๆ กันจึงขออธิบายอยู่ในหัวข้อเดียวกันแต่ก็จะมีการกำหนดค่าแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งจะกล่าวต่อไป ก่อนที่จะทำการแทรกไฟล์ flash และ shockwave นั้นต้องมีการเตรียมไฟล์ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงสามารถแทรกเพิ่มลงในหน้าเว็บเพจได้ตามขั้นตอนดังนี้
         1. คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์
         2. เลือกเครื่องมือ หรือ ที่ Insert bar ในกลุ่มแท็บ Common
         3. เมื่อเลือกเครื่องมือตามต้องการแล้วจะปรากฏหน้าต่างให้เลือกไฟล์ที่เตรียมไว้
         4. เมื่อเลือกไฟล์งานแล้วจะปรากฏหน้าต่าง Object Tag Accessibility Attributes ให้ทำการใสชื่อหัวเรื่องตามต้องการแล้วกดปุ่ม OK
         5. จะปรากฏไฟล์งาน Flash หรือ Shockwave แสดงในหน้าเว็บเพจ ดังรูป


        เมื่อแทรกไฟล์ Flash หรือ Shockwave เข้ามาแล้วสามารถทดลองเล่นได้ โดยไม่ต้องเปิดผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ซึ่งทำได้โดยกดปุ่ม Play ในพาเนล Properties ดังรูป


        รายละเอียดการกำหนดคุณสมบัติของไฟล์ Flash และ Shockwave
        ถ้าต้องการปรับแต่งคุณสมบัติของไฟล์ Flash หรือ Shockwave ในทำการคลิกที่ไฟล์ในหน้าเว็บเพจที่แทรกมาแล้วไปกำหนดค่าในพาเนล Properties ซึ่งไฟล์ทั้ง 2 ประเภทจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

คุณสมบัติของไฟล์ Flash

         
       1. กำหนดให้เล่นซ้ำ (Loop) ถ้าถูกเลือกไว้จะเป็นการเล่นไฟล์งานอย่างต่อเนื่อง
       2. ชื่อไฟล์ของ Flash
       3. กำหนดความกว้างและความสูง
       4. กำหนดคุณภาพของไฟล์งาน (Quality)
           - Low เน้นที่ความเร็วในการเล่นมากกว่าคุณภาพของภาพที่ปรากฏ
           - Auto Low เน้นที่ความเร็วก่อนแต่จะปรับคุณภาพของภาพให้ดีขึ้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วพอ
           - Auto High ให้ความสำคัญทั้งความเร็วและคุณภาพของภาพแต่จะลดคุณภาพลงถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เร็วพอ
           - High ให้ความสำคัญกับคุณภาพของภาพมากกว่าความเร็ว
       5. ชื่อไฟล์งานที่นำมาใช้งาน
       6. กำหนดตำแหน่งการแสดงผลบนหน้าเว็บเพจ
       7. กำหนดสีพื้นหลัง
       8. แก้ไขไฟล์งาน (Edit) เป็นการเปิดโปรแกรม Flash ขึ้นมาแก้ไขไฟล์งานต้นฉบับ
       9. กำหนดให้ไฟล์เล่นอัตโนมัติ (Autoplay) ถ้าถูกเลือกจะเป็นการแสดงผลอัตโนมัติเมื่อเว็บเพจถูกเปิด
     10. กำหนดระยะห่างระหว่างไฟล์งานกับเนื้อหา
     11. กำหนดสัดส่วนของไฟล์งาน (Scale) เป็นการปรับการแสดงผลของไฟล์งาน
           - Default (Show all) เป็นการแสดงผลไฟล์งานให้ครบภายในขนาดที่กำหนด โดยคงสัดส่วนเดิมไว้ (อาจจะทำให้เกิดขอบด้านข้าง)
           - No border เป็นการแสดงผลของไฟล์งานให้เต็มขนาดที่กำหนด โดยคงสัดส่วนเดิมและไม่ให้เกิดขอบด้านข้าง
           - Exact fit เป็นการแสดงผลไฟล์งานให้ครบและเต็มขนาดที่กำหนดโดยไม่สนใจสัดส่วน
     12. กำหนดรูปแบบการแสดงไฟล์งาน (Wmode)
           - Window เป็นการแสดงพื้นภาพปกติ
           - Opaque เป็นการแสดงพื้นภาพแบบมัว
           - Transparent เป็นการแสดงพื้นภาพโปร่งใส
     13. ทดสอบการทำงาน โดยจะมีปุ่ม Play / Stop เป็นปุ่มควบคุม


คุณสมบัติของไฟล์ Shockwave
      ในส่วนของรายละเอียดไฟล์ Shockwave ก็มีคล้ายของไฟล์ Flash ดังนี้
       1. กำหนดชื่อไฟล์งาน
       2. กำหนดความกว้างและความสูง
       3. ชื่อไฟล์งานที่นำมาใช้งาน
       4. กำหนดสีพื้นหลัง
       5. กำหนดระยะห่างระหว่างไฟล์งานกับเนื้อหา
       6. กำหนดตำแหน่งการแสดงผลบนหน้าเว็บเพจ
       7. แสดงไฟล์งานขณะที่ยังไม่เปิดด้วยเว็บบราวเซอร์