Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player


ประเภทของภาพกราฟิก

         ในการสร้างเว็บเพจแต่ละนั้นถ้ามีการใส่ข้อความหรือตัวอักษรเพียงอย่างเดียวจะทำให้เว็บเพจนั้นไม่เป็นที่สนใจของผู้เข้าชม จึงต้องมีการแทรกรูปภาพเพื่อให้เว็บเพจสวยงามมากยิ่งขั้นและสื่อความหมายของเนื้อหาในเว็บเพจได้ดียิ่งขึ้น
         ภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. ภาพเวคเตอร์ (Vector) จะเป็นภาพที่ประกอบด้วยเส้นลักษณะต่างๆ เช่น เส้นตรง โค้ง และรูปทรงของเลขาคณิต จะถูกจัดเก็บในคำสั่งของโปรแกรมและค่าตัวเลข ซึ่งเวลาทำการแสดงผลจะมีการคำนวณทุกๆ ครั้ง ส่งผลให้ภาพลักษณะเช่นนี้มีความคมชัดและไม่แตกเมื่อมีการขยายให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น
         2. ภาพบิตแมป (Bitmap) จะเป็นภาพที่ประกอบจากจุดสีขนาดเล็กๆจำนวนมากเรียงเรียงตัวกันในลักษณะรูปแบบตาราง เรียกว่า พิกเซล(pixel) โดยในแต่ละภาพจะมีค่าและขนาดที่แน่นอน ถ้ามีการขยายเพิ่มมากขึ้นจากขนาดเดิมจะทำให้มองเห็นเป็นภาพหยาบหรือรูปภาพแตกอย่างชัดเจน

ตัวอย่างขยายภาพเวคเตอร์ ตัวอย่างการขยายภาพบิตแมป
ที่มารูปภาพ http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201372/page03_03_02.html
        
      
         ภาพกราฟิกที่ใช้ทั่วไปกับเว็บเพจ
         ส่วนใหญ่แล้วภาพกราฟิกที่ใช้ในเว็บเพจจะมีรูปแบบไม่มากนัก เช่น .gif, .jpg, .png, .bmp โดยในแต่ละรูปแบบของภาพกราฟิกจะมีคุณสมบัติหรือลักษณะแตกต่างกันออกไป

ประเภทไฟล์ คุณสมบัติไฟล์
BMP สามารถบันทึกภาพชนิดขาวดำแบบ 16 สี และภาพสีขนาด 24 บิท (True color) ได้
TIFF บันทึกภาพได้หลายชนิดทั้งภาพลายเส้น (Line-Art), ภาพ halftone, ภาพ grayscale และภาพสีตั้งแต่ 1 บิทจนถึง ภาพสี 32 บิท
GIF เก็บข้อมูลภาพในลักษณะ 8 bit (256 สี) สามารถเก็บภาพไว้ได้หลายภาพในไฟล์เดียว จึงสามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้, มีการบีบอัดข้อมูลแบบ LZW (Lamp Ziv-Welch)
JPG เก็บข้อมูลภาพในลักษณะของการบีบอัดข้อมูล สามารถเก็บภาพสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสี โดยคุณภาพสูงจะมีขนาดไฟล์ใหญ่และคุณภาพต่ำขนาดของไฟล์ก็จะมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย
PNG มี 2 ชนิดคือ PNG-8 และ PNG-24 โดย PNG-8 จะมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับ GIF ส่วน PNG-24 จะมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับ JPG
     - PNG-8 จะใช้วิธีการบีบอัดแบบไม่เสียข้อมูล ภาพที่ได้จะมีคุณภาพดีแต่จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่กว่า JPG มาก
     - PNG-24 จะแสดงแต่ละพิกเซลได้ค่าความโปร่งใส 256 ระดับ ทำให้มีการไล่สีจากวัตถุไปยังพื้นหลังที่โปร่งใสได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากภาพ GIF ที่จะเลือกได้แค่ให้โปร่งใสหรือไม่โปร่งใสเท่านั้น